เมนู

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรม ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลาย ฯลฯ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ฯลฯ
บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
7. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ มี 3 วาระ (วาระที่ 7-9)
เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว.

4. อนันตรปัจจัย


[173] 1. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 3 วาระ วุฏฐานะไม่มี.
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จิต ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ. เนวสัญ-
ญานาสัญญายตนะ ของผู้ที่ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
การนับสองวาระนอกจากนี้ (วาระที่ 5-6) พึงกระทำเหมือนอย่างนี้.
7. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย
พึงกระทำเป็น 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9) วุฏฐานะไม่มี.

5. สมนันตรปัจจัย


เป็นปัจจัยย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ เหมือน
อนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[174] 1. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับ
ปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย เหมือนกับปัจจยวาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[175] 1. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย